ทำความใฝ่ฝัน ให้มันเป็นจริง
สรุปย่อหนังสือ
ทำความใฝ่ฝัน ให้มันเป็นจริง
ผู้เขียน ไพบูลย์ สำราญภูติ
การทำความฝันให้เป็นความจริงนั้นไม่ยากเลย คำว่า “ทำไม่ได้” ไม่มี จะมีก็แต่ “ไม่ได้ทำ” ขอเพียงอย่าฝันให้เกินความสามารถของตนเองเท่านั้น เริ่มจากการได้ใฝ่ฝัน แล้วลงมือทำด้วยพลังสมอง พลังใจ และพลังกาย สอดผสานให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมฝ่าฟันปัญหาอุปสรรค หมั่นเก็บเกี่ยวเทคนิค ภูมิปัญญา และประสบการณ์ดี ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบ ๆ ตัว มาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด ก็จะภูมิใจกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจด้วยตนเอง และความฝันก็จะไม่ไกลเกินกำลังที่จะทำได้จริง
•เริ่มจาก ตั้งความฝัน แล้วบอกตัวเองว่า “เราทำได้” แล้วลงมือทำตามที่เห็นคนอื่นเขาทำ อยากจะได้อะไร ตัดสินใจเสียแต่วันนี้ เขียนแนวทางความฝันของคุณไว้ เพื่อจะได้รู้ว่าคุณจะทำให้มันเป็นจริงได้อย่างไร เขียนทีละเรื่อง ฝันทีละอย่าง ทำให้สำเร็จอย่างหนึ่งแล้วจึงฝันต่อ
•อย่าคอยให้โชคช่วย สร้างโอกาสให้ตัวเอง เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานให้มากกว่าคนอื่น
•อย่าคิดว่าเงินซื้อความสำเร็จได้ ถ้าใช้เงินซื้อความสะดวกสบาย คุณจะกลายเป็นคนหยิบโหย่ง สุรุ่ยสุร่าย เกียจคร้าน ที่สุดทรัพย์สมบัติที่มีก็หมดไป และไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย
•เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การเรียนจากตำราในโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ประสบการณ์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญกว่า เพราะจะช่วยให้คุณก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้มากกว่า ดังนั้น ต้องหาประสบการณ์ด้วยการลงมือทำด้วยตัวเอง
•พยายามทำให้ได้ดีที่สุด มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะได้ผลตอบแทนมาก/น้อย คุ้ม/ไม่คุ้ม
•เป็นนักฟังที่ดี เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้อื่น เพื่อนำไปใช้ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหา รวมทั้งได้แนวคิดจากผู้อื่นมาป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
•เป็นนักคิดสร้างสรรค์ คิดแล้วทำ และทำอย่างคิด ดีกว่าคิดแล้วไม่ได้ทำ
•ไม่สร้างศัตรู สุภาพอ่อนน้อม ทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ เสมอต้นเสมอปลาย
•รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เพื่อนำจุดแข็งมาใช้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงมิให้เกิดจุดอ่อน
•อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น อายุ อากาศ สภาพแวดล้อม ฯลฯ สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นอุปสรรคใด ๆ ต่อความสำเร็จ ถ้าคุณหาสาเหตุให้เจอแล้วแก้ไข
•ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น จะช้าหรือเร็ว อยู่ที่คุณจะมุ่งมั่นเพียงใด ถ้าไม่ยอมลำบากก่อน แล้วจะสบายเมื่อปลายมือได้อย่างไร
•พอใจในสิ่งที่ได้ ภูมิใจในสิ่งที่ทำ ทะเยอทะยานแต่ไม่โลภ ความทะเยอทะยายทำให้เกิดความก้าวหน้า ความโลภทำให้เกิดความล้มเหลว
•เลือกคบคนที่ประสบความสำเร็จ เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ให้คุณได้เรียนรู้ และเป็นแรงจูงใจให้อยากทำให้สำเร็จอย่างเขา คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
•เติมพลังเชื้อเพลิงแห่งความปรารถนาไว้เสมอ อย่าให้มอดดับ เพื่อให้ตื่นตัวและมีชีวิตชีวาในการทำความฝันให้สำเร็จ
อย่ารอช้า ลงมือเดี๋ยวนี้ ทำความฝันของคุณให้เป็นจริง
pornpawit@witvision
วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554
ความรู้ทั่วไปในธุรกิจเครือข่าย
ประวิติความเป็นมา
ประวิติความเป็นมาของบริษัทขายตรงที่เกิดขึ้นในอเมริกา
แนวคิดการขายตรงแบบหลายชั้นเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ 1940 เชื่อกันว่าแนวความคิดนี้เป็นปีผลพวง ที่เกิดตามจากร้านลูกโซ่ (franchine) ที่แพร่หลายกันอยู่ในขณะนั้น ยุคปี 1940 วิธีการขายปลีกที่แพร่หลายที่สุดก็คือการตั้งร้านลูกโซ่หรือ บริหารแบบลูกโซ่นั่นคือนำธุรกิจ หรือ ยี่ห้อ หรือ วิธีการค้าขายที่ประสพความสำเร็จในขณะนั้น (การสั่งซื้อสินค้าและโฆษณา) ตลอดจนรูปแบบการ บริหารอื่นๆ ถ่ายทอดให้แก่ร้านใหม่อีกร้านหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าประเภทเดียวกัน คล้ายๆกับ seven-eleven ฯลฯ ในเมืองไทยเรา
ต่อมา จึงมีการนำเอาวิธีนี้มาถ่ายทอดให้แก่นักขายตรง ( คือไม่ใช่ร้านขายปลีก )ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่าการขายตรงแบบหลายชั้น
สมัยปี 1950 มีบริษัทขายตรงที่จำหน่ายเครื่อง ใช้ในครัวเรือนเกิดขึ้น และในปี 1956 บริษัทขายตรงชาร์คเคิลก่อตั้งขึ้น แม้ว่าสมัยนั้นบริษัทนี้ยังไม่ใช่บริษัทขายตรงแบบหลายชั้นที่สมบูรณ์ ในปี 1934 มีบริษัทแห่งหนึ่งชื่อบริษัท “วิตามินแคลิฟอร์เนีย” ได้นำวิธีนี้มาใช้ โดยจำหน่ายวิตามินยี่ห้อ “นิวเทอร์รี่รีเทอร์” หลังจากปี 1950 บริษัทขายตรงแบบหลายชั้นก็เริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ พอเข้าสู่ปี 1960 บริษัทเหล่านี้ผุดขึ้นทั่ว สหรัฐอเมริการาวกับดอกเห็ดในหน้าฝน ในจำนวนนี้ก็มีบริษัทขายตรงประเภท”คิดจะโกยกำไรท่าเดียวก่อตั้ง ขึ้นด้วย” เพื่อแก้ปัญหานี้ สมาคม F.TC ( Federl Trade Commision ) ได้เปิดโปงบริษัทขายตรงที่ดำเนินการผิด กฎหมายพาณิชย์ ที่ละบริษัท ปี 1975 บริษัทแอมเวย์ ถูก F.T.C ฟ้องยังส่งผลให้บริษัทขายตรงซึ่งเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วในช่วงปี 1970 ต้องชะลอการเกิด ต่อมาในปี 1979 บริษัทแอมเวย์ ซึ่งใช้เวลาสู้ความกับ F.T.C 4ปี และใช้เงินไปทั้งสิ้นสี่ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็เป็นฝ่ายชนะคดีในที่สุด ชัยชนะครั้งนั้นเป็นบทพิสูจน์ ว่าการตลาดขายตรงแบบหลายชั้นแตกต่างจากพวก ”บริษัทต้มตุ๋น” อย่างสิ้นเชิง หลังจากชนะคดีแล้ว ธุรกิจขายตรงก็ทำให้สังคมต้องยอมรับจุดนี้ คดีฟ้องร้อง ของบริษัทแอมเวย์ ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง และทำให้ธุรกิจต้องหันกลับมามองระบบขายตรงแบบหลายชั้นด้วยสายตาแบบใหม่ ต่อมานิตยาสาร Fortune ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการตลาดขายตรงแบบหลายชั้นโดยสรุปว่าเป็นธุรกิจที่เป็นเอกลักษ์ของสหรัฐอเมริกา การขายสินค้าด้วยระบบขายตรงแบบหลายชั้นเริ่มแพร่หลาย บริษัทต่างๆเช่น บริษัท Texas Instruments , Kodak , Commodore Computer ,Beatrice Foods ฯลฯ ต่างขายสินค้าด้วยระบบการตรงแบบหลายชั้นทั้งสิ้น ผล ปรากฏว่า ในปี 1979 มีบริษัทขายตรง เพียงแค่ 200กว่าแห่งเท่านั้น แต่พอมาถึงปี 1983 บริษัทขายตรงมีจำนวนขึ้นถึง 1,500-2,000 บริษัทและมีนักขายประมาณ สามล้านเจ็ดแสน-สี่ล้านห้าแสนคน แต่นักขายเหล่านี้มักจะขายสินค้าของหลายๆบริษัท สมมุติว่านักขายคนหนึ่งสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทต่างๆ 3-4 บริษัท นักขายจำนวนสี่ล้านห้าแสนคนก็จะลดลงเหลือหนึ่งล้านสามแสนคน หลังจากทราบรายละเอียดประวัติความเป็นมาอย่างคร่าวๆ ของบริษัทขายตรงในอเมริกาแล้วทุกท่านคงจะเห็นชัดว่าการตลาดขายตรงแบบหลายชั้นนั้น มีการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาอย่างไร ทำไมนับแต่ปี 1980 เป็นต้นมา ธุรกิจประเภทนี้ถึงรุ่งนัก แต่ว่านอกจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ แล้วยังมีสาเหตุสำคัญอีก 2 ข้อ ที่ช่วยให้ธุรกิจแขนงนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว นั่นคือ
(1) โดยพื้นฐานของการขายตรงแบบหลายชั้นนั้น มุ้งเน้นที่จะนำสินค้าราคาถูกมาจำหน่ายให้กับลูกค้า จุดนี้เป็นจุดที่บริษัทขายตรงแบบหลายชั้นใช้เหตุผลในการโน้มน้าวจูงใจที่มีพลังที่สุด ดังข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ Financial Freedom ซึ่งเป็นคู่มือที่ใช้ในการอบรมลูกทีมของบริษัทขายตรงเขียนไว้ว่า “การค้าขายแบบทั่วไปนั้น เซลส์ของผู้ผลิตก็คือคนกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้ส่ง เซลส์เหล่านี้จะได้ค่าตอบแทนประมาณ3 % ของยอดขาย ต่อมาสินค้าจะถูกส่งไปทางรถไฟ รถบรรทุก หรือรูปแบบอื่นๆจนกระทั่งถึงมือพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายส่งก็จะนำสินค้า มาแยกบรรจุหีบห่อแล้วส่งไปยังร้านขายปลีก เซลส์ของผู้ผลิตจะรับค่านายหน้า พ่อค้าขายส่งจะรับค่าคนกลาง ส่วนร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าถึงมือลูกค้าก็จะได้รับเงินกำไรซึ่งปกติจะอยู่ในอัตรา 35 % ทั้งนี้เนื่องจากร้านค้าปลีกมีค่าใช้จ่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนพนักงาน ค่าสต็อกและรายจ่ายอื่นๆ ที่ใช้ไปในการบริหารงานจะถูกคิดรวมอยู่ในกำไร 35 % นี้ เรายังไม่ได้พูดถึงค่าโฆษณา แน่นอนเงินก้อนนี้ลูกค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าโฆษณาจะถูกบวกอยู่ในราคาสินค้าขายปลีก จริงๆแล้วผู้ซื้อต้องแบกรับค่าโฆษณาถึง 3 ชนิด แต่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว นั้นคือ ค่าโฆษณาที่ผู้ผลิตใช้ในการดึงดูดลูกค้าอย่างเช่นโฆษณาใหญ่ๆ ที่แพร่ไปในระดับประเทศ ค่าโฆษณาท้องถิ่นที่ผู้ขายส่ง ใช้ในการดึงดูดพ่อค้าปลีก ค่าโฆษณาที่พ่อค้าปลีกใช้ดึงดูดลูกค้าเพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน ช่วยให้ร้านของตนขายดีขึ้น ค่าโฆษณาทั้ง 3 อย่างนี้ ผู้ซื้อสินค้าต้องรับภาระไปทั้งหมด ดังนั้นค่าโฆษณาจึงสูงขึ้นอีกร้อยละ 15 ของราคาสินค้า
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการประกอบธุรกิจทั่วๆไปออกมาอยู่ในรูปดังต่อไปนี้
ค่าวัตถุดิบ 10 %
ค่ากำไรและค่าดำเนินงานของฝ่ายโรงงาน 12 %
ค่านายหน้าของเซลส์โรงงาน 3 %
ค่ากำไรพ่อค่าขายส่ง 25 %
ค่าโฆษณา 15 %
รวม 100 %
เมื่อเห็นแผนภูมิแสดงค่าใช้จ่ายเช่นนี้แล้ว หลายท่านคงนึกสงสัยว่าทำไมผู้ผลิตจึงไม่คิดค่าวิธีส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าด้วยกระบวนการที่ง่ายที่สุด พูดง่ายๆก็หมายความว่าจะตัดพ่อค้าคนกลางออกไปได้ไหม ค่าไช้จ่ายต่างๆจะได้ถูกลง คำตอบคือ “ได้” เวลานี้ในสหรัฐอเมริกามีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอิสระอยู่ว่า“ให้ลูกค้ารับบทบาทเป็นพ่อค้าคนกลางเสียเอง” นั่นคือการขายสินค้าด้วยระบบขายตรงแบบหลายชั้น การค้าขายแบบนี้ สินค้าจะถูกส่งจากผู้ผลิตไปถึงมือลูกค้าโดยตรง
แผนภาพต่อไปนี้เป้นโครสร้างของการขายตรงแบบหลายชั้น
ค่าวัตถุดิบ 10 %
ค่ากำไรและค่าดำเนินงานฝ่ายโรงงาน 12 %
ค่าจัดงานอบรมลูกทีม 3 %
คอมมิสชั่นของนักขาย 35 %
ใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือเป็นส่วนลดสินค้า 15 %
รวม 100 %
จากแผนภูมินี้ เราจะเห็นได้ว่า กำไร 63 % ซึ่งเมื่อก่อนนั้นต้องจ่ายให้แก่พ่อค้าคนกลาง แต่หันกลับมาค้าขายด้วยระบบขายตรงแบบหลายชั้น เงินกำไรก้อนนี้จะตกเป็นของลูกค้า ซึ่งสมัครเป็นผู้แทนจำหน่ายของบริษัท อีกทั้ง สินค้า ยังมีราคาถูกลงอีก 15 % เนื่องจากไม่เสียค่าโฆษณา ตัวเลขที่กำกับไว้นี้อาจคลาดเคลื่อนได้บ้างแต่ในหลักการแล้วแนวคิดเช่นนี้ถูกต้องตรงเผง เพราะฉะนั้น เราจึงกล้าพูดอย่างเต็มปากว่า ระบบขายตรงแบบหลายชั้นนั้น แท้จริงคือระบบการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในราคาที่ค่อนข้างถูก และนี้คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบการขายตรงแบบหลายชั้นเฟื่องมากในยุคนี้ นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การตลาดขายตรงแบบหลายชั้นแพร่หลายมากนั้นคือ
(2) ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อคุณภาพสินค้าและบริการ ระยะหลังๆ ผู้บริโภคจะไม่หลับหูหลับตาซื้อสินค้าเพราะหลงเชื่อคำโฆษณา หรือแรงเชียร์ดังแต่ก่อน แต่จะพิจารณาคุณภาพสินค้าแล้วจึงตัดสินใจซื้อ ความจริง สภาพที่ผู้บริโภคทำการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าด้วยตนเองนั้นมีมานานแล้ว อีกทั้งผู้บริโภคยังเป็นผู้ค้นพบปัญหาสารพิษเจือปนอยู่ในสินค้าอุปโภคในชนิดต่างๆ ระยะ หลังๆจึงมีผู้บริโภคบางคนเปลี่ยนบทบาทจากผู้บริโภคมาเป็นผู้ผลิตเสียเอง อย่างเช่น มีการผลิตเครื่องสำอางขึ้นใช้เองและบางครั้งก็จำหน่ายให้แก่ญาติมิตร แนวโน้มเช่นนี้ก็ดุจเดียวกับการรักษาพยาบาล จริงอยู่แพทย์เป็นบุคคลที่สามารถบำบัดรักษาโรคให้คนไข้ได้ แต่ไม่สามารถทำให้เราแข็งแรงได้ จุดนี้เป็นจุดที่ทุกท่านทราบดี ดังนั้น เพื่อที่จะให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรง เราจึงต้องดูแลชีวิต ความเป็นอยู่และปรับปรุงสไตล์ชีวิตของตนเองให้ถูกต้อง หลายปีมานี้ ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้ ในสังคมอเมริกา มีการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่อย่างกว้างขวางคนที่สูบบุหรี่ในที่ชุมชนจะกลายเป็นคนละเมิดกฏหมาย และถ้าคนๆหนึ่งอ้วนผิดรูปผิดร่าง ก็จะถูกวิจารณ์ ว่าเป็นคนปัญญาอ่อน ที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ จะเห็นได้เช่นกันว่าคนที่เริ่มมีจิตสำนึกว่า “ สุขภาพของตนเอง ตนเองจะต้องเป็นผู้ดูแลรักษาให้ดี ” นั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ภูมิหลังของสังคมเช่นนี้ คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การขายตรงแบบหลายชั้นเฟื่องฟูอย่างรวดเร็ว เพราะว่า การซื้อสินค้าที่โหมโฆษณากันอย่างอึกทึกครึกโครม อีกทั้งไม่มีค่าคอมมิสชั่นให้ผู้ซื้อนั้นย่อมสู้การซื้อสินค้าที่ตนเองเห็นว่าพอจะมีคุณภาพดีอีกทั้งซื้อแล้วยังจะได้ส่วนลดในรูปคอมมิสชั่นไม่ได้
ปัจจุบันนี้ คนที่มีแนวโน้มเช่นนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆด้วยเหตุนี้เอง ระบบการขายตรงแบบหลายชั้นจึงเป็นระบบการซื้อขายที่คนในสังคมยอมรับว่ามีประโยชน์ประสิธิภาพมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ
ภูมิหลังทางสังคมที่กล่าวมานี้คือสภาพการเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของตลาดการขายตรงแบบหลายชั้นในประเทศที่เจริญแล้ว และอีกไม่ช้าไม่นาน เหตุการณ์เช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นที่ประเทศของเราเช่นกัน
ที่มา: สำเร็จดอทคอม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)